วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

คำลักษณะนาม

คำลักษณะนาม 


ภาษาไทยมีลักษณะเฉพาะประการหนึ่งคือมีการใช้ลักษณนาม  ซึ่งจะนอกจากจะต้องเลือกใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับนามนั้น ๆ แล้ว  ยังต้องพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะแก่บริบทอีกด้วย  คำนามบางคำมีหลายความหมาย  คำนามบางคำจึงใช้ลักษณนามได้หลายอย่าง  จึงขอประมวลลักษณนามที่มักจะใช้สับสนเพื่อช่วยให้ใช้ลักษณนามได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม


                                        เช่น

กระบอก  ใช้กับ      ปืน  ข้าวหลาม กระบอกสูบ  กระบอกพลุ  ไฟฉาย  ไฟพะเนียง

ตน            ใช้กับ     ฤๅษี ยักษ์  ผีเสื้อสมุทร  ผีเสื้อยักษ์  ภูตผี  คนธรรพ์  กินนร  กินรี  กระสือ กระหัง  โยคี  นางไม้  นักสิทธิ์  เซียน  เปรต

รูป            ใช้กับ      นักบวช  นักพรต  นักบุญ  พระสงฆ์  พระคณาจารย์  สมี (โบราณใช้เป็นคำเรียกพระภิกษุ)  สมภาร  สามเณร  บาทหลวง

ดวง          ใช้กับ     ดาว  ผีพุ่งใต้  แสตมป์  วิญญาณ  ดวงตา  ดวงใจ  หัวใจ  โคม  ชวาลา

ตัว            ใช้กับ      สัตว์  เข็มกลัด  เข็มหมุด  ขิม  ขื่อ  ตะขอ  เก้าอี้  เกี๊ยว  เกี้ยมอี๋  กีตาร์  กระต่ายขูดมะพร้าว  ตัวอักษร  ตัวโน้ต 

เล่ม       ใช้กับ     เกวียน  หนังสือ  เข็ม  ทวน  หอก  ดาบ  ตาลปัตร  ตะหลิว  ไม้ตะพด  ตะไบ  เคียว  ไม้พาย  ไม้พลอง          เทียน  กรรไกร  หวี

หลัง       ใช้กับ     สัปคับ  เกี้ยว  เก๋ง  กุฏิ  กูบ  กระต๊อบ  กระท่อม  บ้าน  ตู้  ตำหนัก  จักรเย็บผ้า  จวน  ยุ้ง

คัน        ใช้กับ     ร่ม  ช้อน  ส้อม  เบ็ด  คันชั่ง  คันไถ  ซอ  โชงโลง  ตราชู  ตะเฆ่  แร้ว  ยอ  ธนู  ทัพพี รถ  มอเตอร์ไซค์  แทรกเตอร์  พิณ

เครื่อง      ใช้กับ       เครื่องซักผ้า  เครื่องบันทึกเสียง  เครื่องยนต์  เครื่องบิน  คอมพิวเตอร์  ชิงช้าสวรรค์  พัดลม  เฮลิคอปเตอร์

บาน       ใช้กับ     หน้าต่าง  บานเลื่อน  บานประตู  กระจกเงา  บังตา  บานกระทุ้ง  บานตู้ 

ดอก       ใช้กับ     ดอกไม้  เห็ด  ธูป  ลูกหน้าไม้  ลูกหนู  ลูกธนู  ลูกกุญแจ  ลูกเกาทัณฑ์  พลุ  ดอกไม้ไฟ 

หัว        ใช้กับ     หัวก๊อก  หัวปลี  หัวเทียน  สมุดข่อย  สมุดไทย  เผือก  มัน  กลอย  ขนมจีน

สาย       ใช้กับ     สายสร้อย  สายรุ้ง  แม่น้ำ  รัดประคด  ระโยง  น้ำพุ  ทางด่วน  ทางหลวง  ถนน

ลูก         ใช้กับ     กระถาง  กระติบ  กระทะ  กระบุง  กะละมัง  ขีปนาวุธ  ภูเขา  ครก  คลื่น  จรวด  บอลลูน 

ฉบับ      ใช้กับ     สัญญา  จดหมาย  เช็ค  สนธิสัญญา  สลากกินแบ่ง  วุฒิบัตร  วารสาร  วิทยานิพนธ์  พันธบัตร ใบรับรอง  ใบลา โฉนด  ใบสุทธิ  ใบหุ้น  ใบเสร็จ  ปฏิทิน  ประกาศนียบัตร  นิตยสาร

อัน          ใช้กับ       กรอบรูป  บันได  เข็มทิศ  ตะบอง  นาฬิกาทราย  นาฬิกาน้ำ  ปรอท  ปลั๊กไฟ  ปิ่น  แปรง  ฟันยาง  ไฟแช็ก  ไม้กางเขน  ไม้เท้า  ไม้เรียว  รัดเกล้า  แร็กเกต  ลูกบิด  


คำ ลักษณะนาม ตาม พจนานุกรม 

คำลักษณนาม.. เป็นคำที่บอกลักษณะและชนิด หรือประเภท

ของคำนามนั้น เพื่อจะให้รู้ว่าคำนามนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร 

มักจะเขียนอยู่หลังจำนวนนับ หรือคำนามนั้นๆ

๑. ลักษณนามบอกชนิด

๒. ลักษณนามบอกหมวดหมู่

๓ ลักษณะนามที่บอกสัณฐาน

๔. ลักษณนามบอกจำนวนและมาตรา

๕. ลักษณนามบอกอาการ

________________________________________________


๑. ลักษณนามบอกชนิด

พระองค์ผู้ที่นับถืออย่างสูง เช่น พระพุทธเจ้า พระราชา เทวดาที่เป็นใหญ่ เจ้านายชั้นสูง
องค์เจ้านาย เทวดา (คงจะตำแหน่งน้อยกว่าเทวดาด้านบนนิดนึง) สิ่งที่เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า พระราชา หรือเจ้านาย คำราชาศัพท์ที่เกี่ยวกับอวัยวะภายใน หรือเครื่องใช้สอย
รูปภิกษุ สามเณร นักพรตต่างๆ ชีปะขาว ชี
ตนยักษ์ ภูตผีปีศาจ นักสิทธิ์ เช่น ฤาษี วิทยาธร
คนมนุษย์สามัญทั่วไป
ตัวสัตว์เดียรัจฉาน สิ่งของบางอย่าง เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ม้านั่ง ตะปู ว่าว ตุ๊กตา
ใบภาชนะทั้งปวง ลูกไม้ ใบไม้
เรื่องเรื่องราว ข้อความ คดีต่างๆ
สิ่ง,อันสิ่งของ หรือกิจการที่เป็นสามัญทั่วไป
เลาปี่ ขลุ่ย
เชือกช้างบ้าน (ช้างป่าจะเรียกเป็นตัว หรือ ถ้าเยอะๆ จะเรียกเป็นโขลง ค่ะ)
เรือนนาฬิกา
เล่มสุมด หนังสือ เกวียน เทียน เข็ม กรรไกร สิ่ว ศัสตรา (อาวุธ) ต่างๆ
เต้าแคน (เครื่องดนตรี)


๒. ลักษณนามบอกหมวดหมู่

กองทัพ ทหาร คนทำงานรวมกัน ของที่รวมกันไว้ อิฐ ทราย
พวก,เหล่าคน สัตว์ สิ่งของที่อยู่รวมกัน และมีลักษณะอย่างเดียวกัน
หมวดคน สัตว์ สิ่งของ ที่แยกรวมกันไว้
หมู่คน สัตว์ สิ่งของ ที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ
ฝูงสัตว์พวกเดียวกันที่ไปด้วยกันเป็นพวกๆ หรือคนมากๆ ก็ใช้
คณะคนที่อยู่ในสำนักหนึ่ง หรือในที่ทำการอย่างหนึ่ง หรือในปกครองรวมกัน
นิกายนักบวชศาสนาเดียวกันที่แยกออกเป็นพวกๆ
สำรับ,ชุดคน หรือสิ่งของที่มีครบตามอัตรา
โรงผู้คนที่เล่นมหรสพที่มีโรงเล่น เช่น ละคร โขน หนัง
วงคนชุดหนึ่งที่ล้อมวงกัน เช่น เตะตะกร้อ เล่นดนตรี เล่นเพลง สักวา
ตับของที่ทำให้ติดกันเรียงกันเป็นพืด เช่น พลู จาก ปลาย่าง


๓ ลักษณะนามที่บอกสัณฐาน

วงของที่มีรูปเป็นวง เช่น แหวน กำไล
หลังของที่มีรูปเป้นหลังคา เช่น เรือน บ้าน ตึก มุ้ง กูบ ประทุน เก๋ง บุษบก
แผ่นของที่มีรูปแบนๆ เช่น กระดาษ กระดาน กระเบื้อง อิฐ
ผืนของที่มีรูปแบนกว้างใหญ่ เช่น ผ้า เสื่อ พรม
แถบของที่แบน บาง แคบ แต่ยาว เช่น ผ้าแคบๆ แต่ยาว (คงจะประมาณ ผ้าแถบ น่ะค่ะ)
บานของที่เป็นแผ่นมีกรอบ เช่น ประตู หน้าต่าง กระจกเงา กรอบรูป
ลูกของที่มีรูปทรงกลมๆ หรือค่อนข้างกลม เช่น ลูกไม้ ลูกหิน หรือ ไต้ที่ใช้จุดไฟ ก็ใช้ได้
แท่งของทึบหนามีรูปยาวๆ เช่น เหล็ก ตะกั่ว ดินสอ
ก้อนของที่มีรูปเป็นก้อน เช่น ก้อนหิน ก้อนดิน อิฐแตกๆ ขนมปัง (ที่ไม่เป็นแผ่น)
คันของที่มีส่วนสำหรับถือและลาก รูปยาวๆ เช่น ฉัตร กระสุน รถ ร่ม ธนู หน้าไม้ ช้อนส้อม ซอ เบ็ด (ที่มีคัน) แร้ว ไถ
ต้นของที่เป็นลำต้นเป็นต้นไม้ เช่น ต้นไม้ เสา ซุง
ลำของกลมยาวมีปล้องคั่น เช่น ไม้ไผ่ อ้อย และเรือ
ดวงของที่เป็นรอยกลมๆ เช่น รอยด่าง ตราต่างๆ ของที่มีแสง ตะวัน(ดวงอาทิตย์ เดือน (ดวงจันทร์) ดาว ไฟ และจิตวิญญาณ
กระบอกของกลมยาวแต่กลวง เช่น ปล้องไม้ไผ่ ข้าวหลาม พลุ ปืน
เส้นของที่เป็นเส้นเล็กยาว เช่น เชือก ด้าย ลวด
ปากเครื่องดักสัตว์ที่มีรูปเป็นปากกว้าง เช่น แห อวน สวิง โพงพาง
ปื้นของที่แบนกว้างเป็นพืดยาว เช่น ตอกที่กว้าง เลื่อย
ซี่ของเส้นยาว ตั้งเรียนกันเป็นแถว เช่น ซี่กรง ซี่ฟัน


๔. ลักษณนามบอกจำนวนและมาตรา
คู่ของที่มีชุดละ ๒ สิ่ง เช่น รองเท้า ถุงเท้า ช้อนกับส้อม เชิงเทียน แจกัน
โหลของที่รวมกัน ๑๒ สิ่ง
กุลีผ้าห่อหนึ่งที่รวมกัน ๒๐ ผืน
ชื่อมาตราต่างๆ เช่น ของที่ใช้วัด ตวง ชั่ง เวลา และเงิน เช่น โยชน์ - เส้นทาง / ชั่ง เฟื้อง สลึง ตำลึงบาท หรือชื่อสกุลเงินต่างๆ ทั่วโลก
ชื่อภาชนะต่างๆ เช่น ตุ่ม ไห


๕. ลักษณนามบอกอาการ
จีบของที่จีบ เช่น พลู
มวนของที่มวน เช่น บุหรี่
มัดของที่มัด เช่น ฟืน
ม้วนของที่ม้วนไว้ เช่น ยาสูบ ยาจืด กระดาษ (ที่ม้วนไว้)
กำ,ฟ่อนของที่ทำเป็นกำ ฟ่อน เช่น หญ้า ผัก
กลุ่มของที่กำเป็นกลุ่ม เช่น ด้าย ไหมพรม

ในปัจจุบัน คำลักษณะนามอาจจะมีเพิ่มขึ้นมาอีกหลายคำ เนื่องจากมี
วิทยาการและศัพท์ใหม่ๆ เกิดขึ้นมาอีกมากมาย ส่วนมากจะเป็นลัก
ษณนามที่ซ้ำชื่อ เช่น โครงการ ๓ โครงการ, แผนพัฒนา แผนที่ 

นอกจากนี้คำลักษณนามบางคำ ผู้ใช้บางคนก็มักจะใช้คำพูดที่
ติดปากอยู่ เช่น เรียกพระภิกษุ เป็น องค์ เรียกช้าง เป็น ตัว เรียก
สิ่งของต่างๆ เป็น อัน ชิ้น กันเสียเป็นส่วนมาก..

ดังนั้นหากครูตองมีเวลาและไปพบคำลักษณนามแปลกๆ เพิ่ม
จากนี้ หรือถ้าเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ คนใดมีอะไรเพิ่มเติม ก็มาเสริม
เติมแต่กันได้นะคะ..ขอบคุณไว้ล่วงหน้าครับ.


ด.ช.อภิมุข กาบเกษร ม.2/12 32







3 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุครับที่เผยแพร่ นำมาให้ลูกชายอ่าน

    ตอบลบ
  2. ดีมากค่ะ มีหมดทุกอย่างเลยเวลาที่หนูไม่เข้าใจคำไหน หนูก็จะมาดูค่ะ

    ตอบลบ